
Four Seasons
บทเพลง : Im Abendrot
ประพันธ์ โดย : Richard Strauss
เนื้อร้อง : Joseph von Eichendorff
ที่มา : บทเพลง Im Abendrot มาจากเพลงชุด Four Last Songs ประพันธ์โดย Richard Strauss ในปี 1946 Strauss ได้อ่านผลงานของ Joseph von Eichendorff ( At Sunset ) บทกวีโคลงสั้น ๆ เป็นเรื่องราวของคู่รักที่กำลังพิจารณาวาระสุดท้ายของชีวิตด้วยกัน เเละเมื่อ Strauss อายุ 82 ปี Strauss ได้รับผลกระทบอย่างมากจากบทกวีของ Eichendorff ซึ่งทำให้เขานึกถึงการแต่งงานที่ยาวนาน และมีความสุขของเขาเองกับนักร้องโซปราโน Pauline de Anha ในปี ค.ศ.1948 เขาได้ประพันธ์บทเพลงเสร็จสิ้น เเละเขาตั้งใจจะทำให้ Im Abendrot เป็น
บทสรุปของผลงานชิ้นเอก ชิ้นสุดท้ายของเขา เลยวางแผนที่จะประกอบเพลงอีกสี่เพลงเขามาอยู่จนครบ เป็นบทกวีโดย Hermann Hesse
เป็นเพื่อนของเขา Strauss เพลงชุดนี้ไม่มีข้อบ่งชี้ถึงลำดับที่จะต้องแสดงเพลง เเละบทเพลงชุดนี้ยังเป็นการบรรเลงที่ซับซ้อน เสียงประสานที่ละเอียดอ่อน และท่วงทำนองของนักร้องที่ขับร้องออกไปอย่างสวยงาม

-
เกิด : June 11, 1864 in Munich, Germany
ตาย : September 8, 1949 in Garmisch, Germany
สัญชาติ เยอรมัน
ยุคสมัยดนตรีและระยะเวลา (Style / Period)
ยุคโรแมนติก ค.ศ.1820 - 1910
Romantic Period 1820 - 1910
ตัวอย่างผลงานที่มีชื่อเสียง (Famous Works)
Don Juan, Till Eulenspiegels lustige Streiche, Also Sprach Zarathustra; Ein Heldenleben, Salome
-
อัตชีวประวัติ (Biography)
ริชาร์ด สเตราส์ (Richard Strauss) เป็นนักแต่งเพลงชาวเยอรมัน ในยุคโรแมนติก พ่อเป็นนักดนตรี มีชื่อว่า Franz เป็นผู้ที่มีความชำนาญในการเป่าฮอร์น สเตราส์เรียนรู้เรื่องดนตรีจากการสอนของพ่อเขาเอง เขาสามารถแต่งเพลงได้เมื่ออายุเพียง 6 ขวบ บทเพลงซิมโฟนีบทแรกของเขาได้ถูกนำมาแสดงเมื่ออายุ 17 ปี เมื่ออายุ 21 ปี เขาได้รับทำหน้าที่ผู้กำกับวงดนตรี (conductor) ให้กับวง Meiningen Orchestra และในภายหลังเขาได้กลายมาเป็นผู้ควบคุมวงรุ่นเยาว์ที่ Munich Opera
สเตราส์ สนใจที่จะสร้างผลงานเพลงแบบแปลกใหม่มาสู่ผู้ฟัง ลักษณะของบทเพลงที่เรียกว่า "Tone Poem" หรือ "Symphonic Poem"
ซึ่งเป็นการนำเสียงดนตรีมาใช้พรรณาเรื่องราวต่างๆได้ถูกนำมาใช้ในบทเพลงของเขา ผลงานที่จัดว่าเป็น Tone Poem ได้แก่บทเพลงในเรื่อง
Don Juan และ Till Eulenspiegels lustige Streiche (Till Eulenspiegels Merry Pranks) เขาประสบผลสำเร็จกับแนวดนตรีแบบ
Tone Poem และได้กลายเป็นผู้นำการเขียนเพลงแนวนี้ในเยอรมันนี สเตราส์เป็นผู้ที่มีอารมณ์ขบขัน เขามักจะแทรกอารมณ์ขันของเขาด้วยเสียงดนตรีในบทเพลงของเขาเสมอ
Ein Heldenleben คือ Tone Poem หรือ Symphonic Poem ผลงานลำดับที่ 40 ที่สเตราส์เขียนขึ้น.oxu 8.L. 1898เพื่อบอกเล่าเรื่องราวชีวิตของเขาเองที่ต้องต่อสู้อย่างหนักเพื่อความสำเร็จ โดยมีภรรยาเป็นผู้สนับสนุน ชื่อเพลงในภาษาอังกฤษคือ Hero's Life
เพลง Till Eulenspiegels lustige Streiche สเตราส์ได้เค้าโครงมาจากนิยายพื้นบ้านของชาวเยอรมันที่เล่าสืบต่อกันมา Till Eulenspiegels คือชายที่ชอบสิ่งที่ตลกขบขัน เป็นชายชาวชนบทที่มีอายุอยู่ในช่วงปี ค.ศ. 1300 หลังจากที่เขาได้ตายลงไปแล้ว เรื่องตลกขบขันที่เขาได้ทำไว้ในอดีตได้ถูกนำมาเล่าสืบต่อกันอย่างต่อเนื่อง จนมีการนำเรื่องราวของเขามาเขียนไว้ในเพลงพื้นบ้านและบทกวีต่างๆในศตวรรษที่ 15 และได้แปลออกเป็นภาษาต่างๆ ถึง 6 ภาษา มีผู้นิยมอ่านกันมาก ฉบับที่เป็นภาษาอังกฤษมีผู้นิยมอ่านมากที่สุด
สเตราส์ มีผลงานเพลงประกอบการแสดงอุปรากรเช่นกัน มีทั้งเรื่องที่ไม่ประสบผลสำเร็จและเรื่องที่ประสบผลสำเร็จ อุปรากรเรื่องแรกคือ Guntram ได้นำออกแสดงเพียงครั้งเดียว ต่อมาคือเรื่อง Feuersnot เมื่อนำออกแสดงก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จนัก อุปรากรเรื่อง Solome คือเรื่องที่ได้รับการตอบรับอย่างดี ถือว่าอุปรากรเรื่อง Solome เป็นอุปรากรต้องห้าม เนื่องจากมีฉากการตัดหัวและฉากการเปลื้องผ้าคลุมหน้าออกทีละชั้นถึงเจ็ดชั้น โดยถูกวิจารณ์จากผู้ที่ได้ชมอย่างรุนแรง แต่สุดท้ายอุปรากรเรื่องนี้ก็สามารถทำเงินให้กับสเตราส์อย่างมากมายจนสามารถนำไปปลูกคฤหาสน์หลังใหญ่ได้
ในปี ค.ศ. 1909 สเตราส์ได้เขียนอุปรากรเรื่อง Elektra โดยได้นำวิธีการประสานเสียงแบบใหม่มาใช้ เพื่อต้องการให้ผู้ที่ได้ฟังเกิดความตกใจ อุปรากรทั้ง 2 เรื่อง คือ Solome และ Elektra ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากในยุคนั้น ในปี ค.ศ.1911 เขาได้เขียนอุปรากรชวนหัว 1 เรื่อง คือ Der Rosenkavalier ซึ่งก็เป็นอุปรากรเรื่องหนึ่งที่ได้รับความนิยมมากเหมือนกับเรื่อง Salome
เนื้อเพลง
Wir sind durch Not und Freude
Gegangen Hand in Hand
Vom Wandern ruhen wir beide
Nun überm stillen Land
Rings sich die Täler neigen
Es dunkelt schon die Luft
Zwei Lerchen nur noch steigen
Nachträumend in den Duft
Tritt her und lass sie schwirren
Bald ist es Schlafenszeit
Dass wir uns nicht verirren
In dieser Einsamkeit
O weiter, stiller Friede!
So tief im Abendrot
Wie sind wir wandermüde
Ist dies etwa der Tod?
We have
gone hand in hand through hardship and joy
From hiking we both rest
Now over the quiet land
The valleys are leaning
around The air is already dark
Two larks only rise
Dreaming in the scent
Step in and let them buzz
Soon it will be bedtime
That we won't get lost
In this solitude
O further, quieter Peace!
So deep in the sunset
How tired are we hiking--
Is this death?
เรา
ร่วมมือกันผ่านความยากลำบากและความสุข
จากการเดินทางที่ยาวไกล
กำลังจะไปอยู่ในที่ที่สูงขึ้น
มีหุบเขาอยู่รอบตัว
เต็มไปด้วยความมืด
มีเพียงเเค่สองเรา
เหมือนอยู่ในความฝัน
เรายืนอยู่กับที่เเต่โลกยังหมุนวง
เราจะได้หยุดพัเสียที
เเต่เราไม่ได้หายไปไหน
ในความเงียบนี้
โอ้ ความสงบ เเละสันติภาพ!
พระอาทิตย์ลับขอบฟ้า
เราเดินทางที่ไกลเเสนไกล
เราจากไปไกลเเล้วหรือ
จุดเด่นของเพลง :
บทเพลง Im Abendrot ประพันธ์ในบันเสียงได Eb เมเจอร์ ทำให้มีเสียงที่ฟังเเล้วสบาย เเละสว่าง เพราะว่าผู้ประพันธ์ต้องการสื่่ออารมณ์ของการปล่อยวาง เเละการจากไปอย่างสงบ ทำให้ผู้ประพันธ์ได้เเต่งให้เเนวประสานให้มีความดังเบาที่ต่างกันไปของเเต่ล่ะตัวโน๊ตโดยใช้สัญลักษณ์ FP ซึ่งมีความหมายว่า บรรเลงดังเเล้วเบาสลับกันไปมา เเละจังหวะในการบรรเลงของเเนวทำนองนั้นจะบรรเลงไปอย่างช้า ๆ เพื่อถ่ายทอดอารมณ์ของความสุข เเละการลาจาก

(1) R. Strauss : Im Abendrot, ห้องที่ 1-19
จุดเด่นถัดมาของบทเพลงนี้คือเเนวประสานในท่อนที่เเนวทำนองหลักหรือทำนองของนักร้องเริ่มร้องขึ้นผู้ประพันธ์ได้ประพันธ์เเนวประสาน
เป็นรูปเเบบของ Arpeggio ก็คือบรรเลงโน้ตในคอร์ดที่ล่ะตัวโน้ตไม่พร้อมกัน เพื่อสร้างอารมณ์ให้เหมือนกับการเครื่องไหวไปข้างหน้าเหมือนกับการค่อย ๆ จากไป เเละใช้สัญลักษณ์ P ซึ่งมีความหมายว่าบรรเลงเบาเพื่อให้เกิดอารมณ์เเละความรู้สึกเหมือนกับการจากลาตามด้วยสัญลักษณ์ Legato sim ซึ่งให้เเนวประสานเคลื่อนไหวไปอย่างช้า ๆ

(2) R. Strauss : Im Abendrot, ห้องที่ 21-23
จุดเด่นถัดมาของบทเพลงนี้คือเเนวประสาน เเละเเนวทำนองหลักของนักร้อง ที่ผู้ประพันธ์ต้องการเพิ่มอารมณ์ของการค่อย ๆ เคลื่อนไหวไปอย่างช้า ๆ สลับกับการเคลื่อนไหวเร็วขึ้นเพื่อถ่ายทอดอารมณ์ของการลาจากไปจากโลกใบนี้ จึงได้มีการเปลี่ยนอัตตราจังหวะ ของในเเต่ล่ะห้องให้ไม่เท่ากัน เช่น ห้องที่ 27กับ28 ในห้องที่ 27นั้นจะมีอัตตราจังหวะเป็น 3/2 ส่วนห้องที่ 28นั้นจะมีอัตตราจังหวะเป็น 4/4

(3) R. Strauss : Im Abendrot, ห้องที่ 27-28
.jpg)
ผังเวทีการเเสดงเพลง Tanzen möcht ich เเละบทเพลง Im Abendrot จะประกอบไปด้วย นักร้อง 5 คน นักเปียโน 1 คน นักฟลูต 1 คน เเละสตริงควอร์เต็ตประไปด้วยเครื่องดนตรี ไวโอลิน 2 คน วิโอลา และเชลโลอย่างละ 1 คน ในฉากนี้ได้อยู่ท่ามกลางคนที่เรารักอาจจะเป็นครอบครัวคนที่เรารักหรือสัตว์เลี้ยงที่จะมอบความอบอุ่นให้แก่กัน เป็นฤดูแห่งความปิติยินดี เฉลิมฉลอง และอวยพรแก่กัน ซึ่งผม ได้นำเทศกาลศริสมาสเข้าร่วมใช้ในฤดูกาลนี้ด้วย
.jpg)
.jpg)
.jpg)