top of page
บทเพลง : Gretchen am Spinnrade 
ประพันธ์ โดย :  Franz Schubert 
เนื้อร้อง : Johann Wolfgang von Goethe's
ที่มา :  บทเพลง Gretchen am Spinnrade  Op. 2 D 118 เป็นเนื้อความส่วนหนึ่งในฉากที่ 15 ของบทประพันธ์ของ Johann Wolfgang von Goethe's เรื่อง Faust 

 
เมื่ออายุเพียง 5 ขวบ ชูเบิร์ตได้รับการถ่ายทอดเรื่องดนตรีจากบิดา และอีกหนึ่งปีหลังจากนั้น ก็เข้าเรียนที่โรงเรียนที่บิดาเป็นครูสอน
เเละเมื่ออายุได้ 7 ขวบเขาก็เก่งเกินกว่าที่ครูสอนดนตรีธรรมดา ๆ จะสอนได้ เขาเลยไปเรียนกับไมเคิล โฮลเซอร์ซึ่งเป็นผู้ควบคุมดนตรีในโบสถ์แห่งหนึ่ง
ต่อมาเมื่ออายุ 11  ปี ได้รับทุนไปเรียนดนตรีที่โรงเรียนชื่อดังในกรุงเวียนนาภายใต้การดำเนินงานของ อันโตนีโอ ซาลีเอรี เป็นเวลา 6 ปี น่าตลกที่ว่า
เขาได้รับประโยชน์จากการสอนเพียงน้อยนิด หากเทียบกับการฝึกหัดกับวงของโรงเรียน และการช่วยเหลืออย่างอบอุ่นจากบรรดาเพื่อน ๆ ในการผลิตผลงานทางดนตรีอย่างมากมาย 
 
      ปี 1813 ชูเบิร์ตหันมาเป็นครูสอนโรงเรียนเดียวกับบิดาของเขาเพื่อหลีกเลี่ยงการเกณฑ์ทหาร ซึ่งเป็นช่วงที่สุดแสนจะน่าเบื่อ และผลงานที่ประพันธ์ออกมาก็จะไม่สำเร็จนัก 2ปีต่อมา ชีวิตของเขาก็เปลี่ยนไป เมื่อลูกศิษย์ที่อยู่ในตระกูลมั่งคั่งได้เสนอให้เขาลาออกจากโรงเรียน และหันมาแต่งเพลงอย่างเดียว
แต่ต่อมาก็ต้องตกอับเพราะไม่ประสบความสำเร็จทั้งในการสอนดนตรีตามบ้าน และการแสดง กระนั้นเขาก็ได้รับการช่วยเหลือจากเพื่อน ๆ  อีกเช่นเคย ในช่วงเวลาต้นทศวรรษที่ 20 ชูเบิร์ตยังเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มบรรดาศิลปิน และนักเรียนซึ่งมักมาชุมนุมสังสรรค์กันที่เรียกว่ากลุ่มชูเบิร์ตเทียเด็น ซึ่งก็ได้รับการคุกคามจากตำรวจออสเตรีย เพราะว่าในช่วงนั้นได้รับคำสั่งให้ระแวดระวังกิจกรรมที่ส่อไปทางปฏิวัติในช่วงหลังปฏิวัติฝรั่งเศส (เริ่มต้นในปี 1789) และสงครามนโปเลียน (ช่วงปี 1803-1815) เพื่อนของชูเบิร์ตคนหนึ่งถึงกลับถูกจับติดคุกไปปีกว่า ๆ และถูกสั่งห้ามไม่ให้เข้ามาในกรุงเวียนนาตลอดชีวิต
    นิสัยของชูเบิร์ตซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีคือเขามักจะตื่นแต่เช้าเพื่อประพันธ์เพลง ไปจนถึงเที่ยงวันก่อนจะสังสรรค์กับเพื่อนฝูงในยามบ่าย แต่แล้วเหมือนกับฟ้าจะกลั่นแกล้งในปี 1822 ชูเบิร์ตพบว่าตัวเองติดเชื้อซิฟิลลิส ซึ่งสมัยนั้นคงจะร้ายแรงเหมือนกับเชื้อเอชไอวี มีคนสันนิฐานว่าเขาอาจจะติดโรคร้ายนี้มาจากสาวใช้ของบ้านที่เขาไปสอนดนตรีในฤดูร้อนฤดูหนึ่ง นายแพทย์แนะนำให้เขาไปพักกับพี่ชายที่ชานเมืองของกรุงเวียนนาอีกที่หนึ่ง แต่แล้วเขาก็ติดโรคไทฟอยด์ไปอีกโรค เเละเสียชีวิตในเวลาต่อมา 
Franz_Schubert_by_Wilhelm_August_Rieder_
อัตชีวประวัติ  Franz Schubert (1797 - 1828) เกิดที่ย่านฮิมเมลพ์ฟอร์ตกรุนด์  ซึ่งอยู่แถวชานเมืองของกรุงเวียนนาใน
ปี 1797 บิดาเป็นครูของโรงเรียนประจำท้องถิ่น ส่วนมารดาเคยเป็นแม่ครัวมาก่อนแต่งงาน ชูเบิร์ตมีพี่น้องรวมทั้งตัวเขาเองถึง 15 คน
แต่น่าเศร้าที่ว่าพี่น้องของเขาร่วม 10 คนได้เสียชีวิตไปตั้งแต่ยังเด็ก บิดาของเขายังเป็นนักดนตรีสมัครเล่น และได้ถ่ายทอดคุณสมบัตินี้
ให้กับบรรดาลูกชายที่ยังมีชีวิตอยู่ด้วย
เนื้อเพลง : 

Meine Ruh’ ist hin,

Mein Herz ist schwer,

Ich finde sie nimmer

Und nimmermehr.

Wo ich ihn nicht hab’

Ist mir das Grab,

Die ganze Welt

Ist mir vergällt.

Mein armer Kopf

Ist mir verrückt

Mein armer Sinn

Ist mir zerstückt.

Meine Ruh’ ist hin,

Mein Herz ist schwer,

Ich finde sie nimmer

Und nimmermehr.

Nach ihm nur schau’ ich

Zum Fenster hinaus,

Nach ihm nur geh’ ich

Aus dem Haus.

Sein hoher Gang,

Sein’ edle Gestalt,

Seines Mundes Lächeln,

Seiner Augen Gewalt.

Und seiner Rede

Zauberfluss.

Sein Händedruck,

Und ach, sein Kuss!

Meine Ruh’ ist hin,

Mein Herz ist schwer,

Ich finde sie nimmer

Und nimmermehr.

Mein Busen drängt sich

Nach ihm hin.

Ach dürft’ ich fassen

Und halten ihn.

Und küssen ihn

So wie ich wollt’

An seinen Küssen

Vergehen sollt’!

My peace is gone

My heart is heavy;

I shall never

Ever find peace again.

When he’s not with me,

Life’s like the grave;

The whole world

Is turned to gall.

My poor head

Is crazed,

My poor mind

Shattered.

My peace is gone

My heart is heavy;

I shall never

Ever find peace again.

It’s only for him

I gaze from the window,

It’s only for him

I leave the house.

His proud bearing

His noble form,

The smile on his lips,

The power of his eyes,

And the magic flow

Of his words,

The touch of his hand,

And ah, his kiss!

My peace is gone

My heart is heavy;

I shall never

Ever find peace again

My bosom

Yearns for him.

Ah! if I could clasp

And hold him,

And kiss him

To my heart’s content,

And in his kisses

Perish!

ความสงบสุขของฉันหายไป
หัวใจของฉันหนักอึ้ง
ฉันจะไม่มีวัน
พบความสงบได้เลย 

​เมื่อเขาไม่ได้อยู่กับฉัน
ชีวิตฉันเหมือนหลุมศพ
โลกทั้งใบไม่มีที่สำหรับฉัน
หันไปทางไหนดี

จิตใจที่น่าสงสารของฉัน
มันกำลังบ้าคลั่ง
จิตใจที่ย่ำแย่ของฉัน
มันแตกสลาย

ความสงบสุขของฉันหายไป
หัวใจของฉันหนักอึ้ง
ฉันจะไม่มีวัน
พบความสงบได้เลย 

หัวใจฉันมันมีไว้เฉพาะสำหรับเธอ
ฉันจ้องมองจากหน้าต่าง
ฉันคิดถึงเธอ
เมื่อเธอออกจากบ้านไป

ความสง่างานของเธอ
รูปแบบอันสูงส่งของเธอ
รอยยิ้มบนริมฝีปากของเธอ
พลังแห่งดวงตาของเธอ

เหมือนคำพูดของเธอมีเวทมนตร์
คำพูดของเธอ
สัมผัสจากมือของเธอ
และการจูบของเธอ

ความสงบสุขของฉันหายไป
หัวใจของฉันหนักอึ้ง
ฉันจะไม่มีวัน
พบความสงบได้เลย 

ใจของฉันมันเเตกสลาย
โหยหาเธอ
ถ้าฉันสามารถจับมือได้
และกอดเขาไว้

และจูบเธอ


มันเข้าไปในใจฉัน
และรสจูบของเธอมันทำให้ฉัน
เเตกสลาย

จุดเด่นของบทเพลง : 
บทเพลงนี้เป็นฉากหนึ่งของเรื่อง Faust ที่บรรยายถึงความเจ็บของตัวละครที่ชื่อว่า "Gretchen" ที่เจ็บปวดใจเนื่องจากการถูกคนที่รักทอดทิ้งไป
บทเพลงนี้ประพันธ์ในบันไดเสียง D ไมเนอร์ ซึ่งทำให้เสียงของบทเพลงนี้ฟังเเล้วรู้สึกถึงความเศร้า เเละมืดมน เนื่องจากผู้ประพันธ์ต้องการสื่ออารมณ์ของความรู้สึกโหยหา เเละความเศร้า จึงได้ประพันธ์เเนวประสานที่บรรเลงด้วยเปียโนนั้นให้สื่อความรู้เหมือนกับเสียงวงล้อของจักรเย็บผ้าที่หมุนวงไปมาตลอดเวลา เเละเสียงของหัวใจที่เต้นเเรงดังออกมา เเละให้เเนวประสานที่เล่นด้วยมือข้างขวา จะบรรเลงเป็นโน้ตเขบ็ตสองชั้นตลอดเวลาด้วยความเร็ว เพื่อสื่อถึงเสียงของจักรเย็บผ้าที่กำลังหมุน ส่วนมือข้างซ้ายเล่นเป็นโน้ตเขบ็ตหนึ่งชั้นพร้อมกับเล่นโน้ตตัวขาวประจุดไปด้วย เพื่อสื่ออารมณ์ของเสียงหัวใจที่ดังออกมา ดังทุบ ๆ 
tempsnip.png
(1)   F. Schubert : GRETCHEN AM SPINNRADE, ห้องที่ 1-3
ในท่อนนี้ผู้ประพันธ์ต้องการสื่ออารมณ์ของความรู้สึกสับสน เเละความต้องการ เพราะว่าความคิดในจิตใจของ Gretchen ตอนนี้นั้นเกิดทั้งความ
สับสนเเละรู้สึกยังรักคนรักอยู่เเม้จะถูกทิ้งไป เเละสิ่งที่อยู่ในใจมันเหมือนกับระเบิดออกมา ผู้ประพันธ์จึงได้ประพันธ์ให้เเนวทำนองหลักของนักร้อง
ขับร้องดังขึ้นโดยใช้สัญลักษณ์ FF ซึงมีความหมายว่า "ดังมาก"  มาเป็นตัวกำหนดความดังเบาของเเนวทำนองหลัก เเละให้เเนวทำนองหลักไล่เสียงขึ้นไปเรื่อย ๆ จากโน้ตตัว F เเล้วไปที่ตัว G  เเล้วร้องลากค้างไว้เพื่อสื่อถึงการปลอดปล่อยออกมาของอามรณ์พร้อมทั้งประพันธ์ในเเนวทำนองประสาน บรรเลงโน้ตเป็นตัวขาวประจุดเพื่อที่จะลากเสียงยาวเเละดังขึ้น เพื่อช่วยสื่ออารมณ์ของการปล่อยความรู้สึกออกมา จากนั้นเเนวประสานจะบรรเลงกลับมาเป็นโน้ตตัวเขบ็ตสองชั้นตามเดิม
gr 2.png
(2)   F. Schubert : GRETCHEN AM SPINNRADE, ห้องที่ 65-67
งานออกแบบที่ไม่มีชื่อ (2).jpg
ผังเวทีการเเสดงเพลง Gretchen am Spinnrade เเละ บทเพลง Empty Chairs At Empty Tables ผมให้ฉากนี้เป็นเหมือนกับการที่มนุษย์เรานั้นต้องถูกทอดทิ้ง เเละกำลังเจอกับปัญหาที่เขามาในชีวิตอย่างหนักหน่วง จึงมีเเค่ตัวของผมคนเดียวที่อยู่บนเวที กับนักเปียโน  ที่บรรเลงเเนวประสาน 
งานออกแบบที่ไม่มีชื่อ (11).jpg
ภาพฉากหลังบนเวทีของฤดูกาลแห่งมรสุม ประกอบไปด้วย 2 บทเพลง Gretchen am Spinnrade เเละบทเพลง Empty Chairs At -  Empty Tables  ผมให้ฉากนี้เป็นเหมือนกับการที่มนุษย์เรานั้นต้องถูกทอดทิ้ง เเละกำลังเจอกับปัญหาที่เขามาในชีวิตอย่างหนักหน่วง
bottom of page