top of page

บทเพลง :  Morgen 

ประพันธ์ โดย : Richard Strauss เนื้อร้อง : John Henry Mackay

  • บทเพลงนี้เป็นเพลงประเภท : Lieder บทเพลงนี้มีความไพเราะในท่วงทำนอง และในแนวเสียงประสานเพราะเป็นเพลงที่ Strauss แต่งให้กับคนรักของเขา   

 

  • เนื้อหาของบทเพลงนี้เกี่ยวกับ การเล่าเรื่องของคู่รักคู่หนึ่งที่อีกคนกำลังจะจากไป ทั้ง 2 คนจึงมานั่งดูพระอาทิตย์ที่กำลังจะตกดิน แสงของดวงอาทิตมันช่างอบอุ่นเหมือนมันกอดเราไว้ด้วยกันตลอดเวลา แต่มันก็ไม่ได้อยู่กับเราตลอดไปเพราะดวงอาทิตย์พอตกเย็นมันก็จะค่อย ๆ ลับลา เมื่อถึงตอนเช้าก็จะค่อย ๆ เผยโฉมขึ้นมาใหม่  เหมือนกับชีวิตของคนเรา 

 

  • บทเพลง ประเภท Lieder นั้นคือเพลงประเภทเพลงร้องที่มีแนวทำนองติดหูในสมัยนั้น มีเนื้อมาจากบทกวีหรือนิทานพื้นบ้าน และเป็นบทเพลงในภาษาเยอรมัน

  • Und morgen wird die Sonne wieder scheinen

      Und auf dem Wege, den ich gehen werde,

      Wird uns, die Glücklichen, sie wieder einen

      Inmitten dieser sonnenatmenden Erde …

      Und zu dem Strand, dem weiten,                          wogenblauen,

      Werden wir still und langsam niedersteigen,

     Stumm werden wir uns in die Augen schauen,

     Und auf uns sinkt des Glückes stummes               Schweigen

Max_Liebermann_Bildnis_Richard_Strauss.j
  • And tomorrow the sun will shine again

      And on the path that I shall take,

      It will unite us, happy ones, again,

      Amid this same sun-breathing earth …

      And to the shore, broad, blue-waved,

      We shall quietly and slowly descend,

      Speechless we shall gaze into each other’s          eyes,

      And the speechless silence of bliss shall fall        on us …

  • และพรุ่งนี้พระอาทิตย์จะส่องแสงอีกครั้ง

      และบนเส้นทางที่ฉันจะไป

      มันจะรวมกันเราคนที่มีความสุขอีกครั้ง

      ท่ามกลางโลกที่มีเเสงส่องลงมา

      และชายฝั่งที่โปร่งเเละมีคลื่นสีฟ้า

      ที่เงียบและสงบ

      เราจะจ้องเข้าไปที่ดวงตาของกันและกัน

      และความสุขที่ไม่ต้องเเสดงออกทางคำพูด

  • เกิด : June 11, 1864 in Munich, Germany

ตาย :  September 8, 1949 in Garmisch, Germany

สัญชาติ เยอรมัน

 

ยุคสมัยดนตรีและระยะเวลา (Style / Period) 

ยุคโรแมนติก ค.ศ.1820 - 1910

Romantic Period 1820 - 1910

ตัวอย่างผลงานที่มีชื่อเสียง (Famous Works) 

 Don Juan, Till Eulenspiegels lustige Streiche, Also Sprach Zarathustra; Ein Heldenleben, Salome

  • อัตชีวประวัติ (Biography) 

        ริชาร์ด สเตราส์ (Richard Strauss) เป็นนักแต่งเพลงชาวเยอรมัน ในยุคโรแมนติก พ่อเป็นนักดนตรี มีชื่อว่า Franz เป็นผู้ที่มีความชำนาญในการเป่าฮอร์น สเตราส์เรียนรู้เรื่องดนตรีจากการสอนของพ่อเขาเอง  เขาสามารถแต่งเพลงได้เมื่ออายุเพียง 6 ขวบ  บทเพลงซิมโฟนีบทแรกของเขาได้ถูกนำมาแสดงเมื่ออายุ 17 ปี  เมื่ออายุ 21 ปี เขาได้รับทำหน้าที่ผู้กำกับวงดนตรี (conductor) ให้กับวง Meiningen Orchestra และในภายหลังเขาได้กลายมาเป็นผู้ควบคุมวงรุ่นเยาว์ที่ Munich Opera

       สเตราส์ สนใจที่จะสร้างผลงานเพลงแบบแปลกใหม่มาสู่ผู้ฟัง  ลักษณะของบทเพลงที่เรียกว่า "Tone Poem" หรือ "Symphonic Poem" ซึ่งเป็นการนำเสียงดนตรีมาใช้พรรณาเรื่องราวต่างๆได้ถูกนำมาใช้ในบทเพลงของเขา  ผลงานที่จัดว่าเป็น Tone Poem ได้แก่บทเพลงในเรื่อง  Don Juan และ Till Eulenspiegels lustige Streiche (Till Eulenspiegels Merry Pranks)  เขาประสบผลสำเร็จกับแนวดนตรีแบบ Tone Poem และได้กลายเป็นผู้นำการเขียนเพลงแนวนี้ในเยอรมันนี  สเตราส์เป็นผู้ที่มีอารมณ์ขบขัน เขามักจะแทรกอารมณ์ขันของเขาด้วยเสียงดนตรีในบทเพลงของเขาเสมอ

      Ein Heldenleben คือ Tone Poem หรือ Symphonic Poem ผลงานลำดับที่ 40 ที่สเตราส์เขียนขึ้น.oxu 8.L. 1898เพื่อบอกเล่าเรื่องราวชีวิตของเขาเองที่ต้องต่อสู้อย่างหนักเพื่อความสำเร็จ โดยมีภรรยาเป็นผู้สนับสนุน ชื่อเพลงในภาษาอังกฤษคือ Hero's Life  

      เพลง Till Eulenspiegels lustige Streiche สเตราส์ได้เค้าโครงมาจากนิยายพื้นบ้านของชาวเยอรมันที่เล่าสืบต่อกันมา  Till Eulenspiegels คือชายที่ชอบสิ่งที่ตลกขบขัน เป็นชายชาวชนบทที่มีอายุอยู่ในช่วงปี ค.ศ. 1300 หลังจากที่เขาได้ตายลงไปแล้ว เรื่องตลกขบขันที่เขาได้ทำไว้ในอดีตได้ถูกนำมาเล่าสืบต่อกันอย่างต่อเนื่อง จนมีการนำเรื่องราวของเขามาเขียนไว้ในเพลงพื้นบ้านและบทกวีต่างๆในศตวรรษที่ 15  และได้แปลออกเป็นภาษาต่างๆ ถึง 6 ภาษา มีผู้นิยมอ่านกันมาก ฉบับที่เป็นภาษาอังกฤษมีผู้นิยมอ่านมากที่สุด

        สเตราส์ มีผลงานเพลงประกอบการแสดงอุปรากรเช่นกัน มีทั้งเรื่องที่ไม่ประสบผลสำเร็จและเรื่องที่ประสบผลสำเร็จ อุปรากรเรื่องแรกคือ Guntram ได้นำออกแสดงเพียงครั้งเดียว ต่อมาคือเรื่อง Feuersnot เมื่อนำออกแสดงก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จนัก  อุปรากรเรื่อง Solome คือเรื่องที่ได้รับการตอบรับอย่างดี ถือว่าอุปรากรเรื่อง Solome เป็นอุปรากรต้องห้าม เนื่องจากมีฉากการตัดหัวและฉากการเปลื้องผ้าคลุมหน้าออกทีละชั้นถึงเจ็ดชั้น โดยถูกวิจารณ์จากผู้ที่ได้ชมอย่างรุนแรง  แต่สุดท้ายอุปรากรเรื่องนี้ก็สามารถทำเงินให้กับสเตราส์อย่างมากมายจนสามารถนำไปปลูกคฤหาสน์หลังใหญ่ได้

       ในปี ค.ศ. 1909  สเตราส์ได้เขียนอุปรากรเรื่อง Elektra โดยได้นำวิธีการประสานเสียงแบบใหม่มาใช้ เพื่อต้องการให้ผู้ที่ได้ฟังเกิดความตกใจ  อุปรากรทั้ง 2 เรื่อง คือ Solome และ Elektra ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากในยุคนั้น ในปี ค.ศ.1911 เขาได้เขียนอุปรากรชวนหัว 1 เรื่อง คือ Der Rosenkavalier ซึ่งก็เป็นอุปรากรเรื่องหนึ่งที่ได้รับความนิยมมากเหมือนกับเรื่อง Salome  

  • จุดเด่นของเพลง  : บทเพลงนี้ ถูกประพันธ์ขึ้นในบันไดเสียง G เมเจอร์ เเละ อยู่ในอัตราจังหวะ  4/4 บทเพลงนี้ผู้ประพันธ์ต้องการที่จะสื่อความหมายของเเสงอรุณที่ส่องมาในยามเช้าเปรียบเหมือนกับกับการเกิดใหม่เเละความอบอุ่น   จึงได้มีการเเต่ง ตัวเเนวประสานที่ใช้ เครื่องไวโอลิน เข้ามาบรรเลงพร้อมเปียโน เพราะว่าเสียงของไวโอลินนั้น มีความหวานเเละนุ่มนวลเหมือนกับ เเสงอาทิตย์ในยามเช้า   

(1) R. Strauss : Morgen ,ห้องที่ 1-5

 

 

 

 

 

  • จุดเด่นอีกอย่างของบทเพลงนี้คือการที่เเต่งเเนวประสานเเบบ  Apegeio  ก็คือบรรเลงคอร์ดที่ล่ะตัวโน้ตไม่พร้อมกัน เพื่อสร้างอารมณ์ให้เหมือนกับการเครื่องไหวของคลื่นทะเลที่ค่อยๆไหลไปอย่างช้าๆ   

 


 

(2) Richard Strauss. Morgen , หน้า1 ห้องที่ 1-3

 

  •  ในห้องที่ 14-16 มี สัญลักษณ์ Langsam ซึ่งเเปลว่าช้า มาช่วยในการกำกับ เเละในท่อนที่ เเนวทำนองหลักเริ่มเข้ามา มีการใช้ สัญลักษณ์ sher ruhig มีความหมายว่า “เงียบมาก” ตัวของผู้ต้องการที่สื่อถึงพระอาทิตย์ยามเช้า







 



 

 

(3)  R. Strauss : Morgen ,ห้องที่ 14-16

 

  • ในท่อนนี้ผู้เเต่งได้มีการสื่ออารมมณ์ของเพลงที่เเต่งต่างออกไปจากท่อนเเรกเพราะว่าท่อนนี้จะเป็นท่อนที่เป็นเหมือนกับบทสรุปเรื่องราวทั้งหมดของ ชุดเพลงเเล้ว จึงมีการเเต่งตัวของเเนวทำนองหลักดูมีความ เหมือนกับการพูดลาจาก  














 


 

 

 

(4) R. Strauss : Morgen , ห้องที่ 31-38


 

  •  เเละตัวของเเนวประสานเล่น เป็นเพียงคอร์ดลากยาวที่ทำหน้าที่ส่งเสริมตัวเเนวทำนองหลักอีกด้วยเพราะ ในท่อนสุดท้ายนี้เป็นเหมือนกับการพูด จึงต้องเเต่งตัวของ เเนวประสาน ให้ไม่มีความซับซ้อนมาก 

 

 

 

 

 

 

 

 

(5) R. Strauss : Morgen , ห้องที่ 31-36



 

  • เเละมี สัญลักษณ์ immer ruhig ซึ่งมีความหมายว่า เงียบสงบ  เพื่อมาช่วยสื่อความหมายของประโยคสุดท้ายนี้ออกมา จากนั้นมีการ ใช้ สัญลักษณ์ P ใส่ลงไปใน เเนวประสาน หลังจากที่ เเนวทำนองหลัก จบลง เพื่อเบาลงเเละจบลงอย่างสมบูรณ์












(6)  R. Strauss :Morgen , ห้องที่ 38-42



REFERENCE

unnamed (1).png
M2.png
M3.png
M4.png
M5.png
M6.png
bottom of page