top of page

บทเพลง Allerseelen

 

ประพันธ์ โดย : Richard Strauss    เนื้อร้อง :  Gilm zu Rosenegg

 

  • บทเพลง นี้ เป็นเพลงประเภท : Lieder  เป็นบทเพลงที่สื่อความหมายเกี่ยวกับความเศร้าที่ถูกเก็บมานานและรอเวลาที่จะได้รับการปล่อยออกมา ซึ่งใช้ตัวแทนของความเจ็บปวดนี้ด้วยดอกไม้สีแดง สิ่งที่น่าสนใจของเพลงนี้คือการถ่ายทอดอารมณ์ของบทเพลงเพราะว่าเพลงนี้เต็มไปด้วยรุนแรงของความเศร้าที่เราต้องถ่ายทอดออกมา 


 

  • เนื้อหาของบทเพลงนี้จะเกี่ยวกับการรำพึงรำพันเกี่ยวกับความเศร้าที่ถูกเก็บไว้อยู่ข้างใน ที่คนที่จากโลกใบนี้ไปแล้วได้ทิ้งไว้ให้ซึ่งมันสร้างความเศร้าใจให้กับคนที่ยังมีชีวิตอยู่ และต้องจมอยู่กับความเศร้านั้นตลอดไปได้แต่รอวันที่จะได้รับการปลดปล่อย 


 

  • บทเพลงประเภท Lieder คือเพลงประเภทเพลงร้องที่มีแนวทำนองเป็นที่นิยมในสมัยนั้น มีเนื้อมาจากบทกวีหรือนิทานพื้นบ้าน 

Max_Liebermann_Bildnis_Richard_Strauss.j
  • เกิด : June 11, 1864 in Munich, Germany

ตาย :  September 8, 1949 in Garmisch, Germany

สัญชาติ เยอรมัน

 

ยุคสมัยดนตรีและระยะเวลา (Style / Period) 

ยุคโรแมนติก ค.ศ.1820 - 1910

Romantic Period 1820 - 1910

ตัวอย่างผลงานที่มีชื่อเสียง (Famous Works) 

 Don Juan, Till Eulenspiegels lustige Streiche, Also Sprach Zarathustra; Ein Heldenleben, Salome

  • อัตชีวประวัติ (Biography) 

        ริชาร์ด สเตราส์ (Richard Strauss) เป็นนักแต่งเพลงชาวเยอรมัน ในยุคโรแมนติก พ่อเป็นนักดนตรี มีชื่อว่า Franz เป็นผู้ที่มีความชำนาญในการเป่าฮอร์น สเตราส์เรียนรู้เรื่องดนตรีจากการสอนของพ่อเขาเอง  เขาสามารถแต่งเพลงได้เมื่ออายุเพียง 6 ขวบ  บทเพลงซิมโฟนีบทแรกของเขาได้ถูกนำมาแสดงเมื่ออายุ 17 ปี  เมื่ออายุ 21 ปี เขาได้รับทำหน้าที่ผู้กำกับวงดนตรี (conductor) ให้กับวง Meiningen Orchestra และในภายหลังเขาได้กลายมาเป็นผู้ควบคุมวงรุ่นเยาว์ที่ Munich Opera

       สเตราส์ สนใจที่จะสร้างผลงานเพลงแบบแปลกใหม่มาสู่ผู้ฟัง  ลักษณะของบทเพลงที่เรียกว่า "Tone Poem" หรือ "Symphonic Poem" ซึ่งเป็นการนำเสียงดนตรีมาใช้พรรณาเรื่องราวต่างๆได้ถูกนำมาใช้ในบทเพลงของเขา  ผลงานที่จัดว่าเป็น Tone Poem ได้แก่บทเพลงในเรื่อง  Don Juan และ Till Eulenspiegels lustige Streiche (Till Eulenspiegels Merry Pranks)  เขาประสบผลสำเร็จกับแนวดนตรีแบบ Tone Poem และได้กลายเป็นผู้นำการเขียนเพลงแนวนี้ในเยอรมันนี  สเตราส์เป็นผู้ที่มีอารมณ์ขบขัน เขามักจะแทรกอารมณ์ขันของเขาด้วยเสียงดนตรีในบทเพลงของเขาเสมอ

      Ein Heldenleben คือ Tone Poem หรือ Symphonic Poem ผลงานลำดับที่ 40 ที่สเตราส์เขียนขึ้น.oxu 8.L. 1898เพื่อบอกเล่าเรื่องราวชีวิตของเขาเองที่ต้องต่อสู้อย่างหนักเพื่อความสำเร็จ โดยมีภรรยาเป็นผู้สนับสนุน ชื่อเพลงในภาษาอังกฤษคือ Hero's Life  

      เพลง Till Eulenspiegels lustige Streiche สเตราส์ได้เค้าโครงมาจากนิยายพื้นบ้านของชาวเยอรมันที่เล่าสืบต่อกันมา  Till Eulenspiegels คือชายที่ชอบสิ่งที่ตลกขบขัน เป็นชายชาวชนบทที่มีอายุอยู่ในช่วงปี ค.ศ. 1300 หลังจากที่เขาได้ตายลงไปแล้ว เรื่องตลกขบขันที่เขาได้ทำไว้ในอดีตได้ถูกนำมาเล่าสืบต่อกันอย่างต่อเนื่อง จนมีการนำเรื่องราวของเขามาเขียนไว้ในเพลงพื้นบ้านและบทกวีต่างๆในศตวรรษที่ 15  และได้แปลออกเป็นภาษาต่างๆ ถึง 6 ภาษา มีผู้นิยมอ่านกันมาก ฉบับที่เป็นภาษาอังกฤษมีผู้นิยมอ่านมากที่สุด

        สเตราส์ มีผลงานเพลงประกอบการแสดงอุปรากรเช่นกัน มีทั้งเรื่องที่ไม่ประสบผลสำเร็จและเรื่องที่ประสบผลสำเร็จ อุปรากรเรื่องแรกคือ Guntram ได้นำออกแสดงเพียงครั้งเดียว ต่อมาคือเรื่อง Feuersnot เมื่อนำออกแสดงก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จนัก  อุปรากรเรื่อง Solome คือเรื่องที่ได้รับการตอบรับอย่างดี ถือว่าอุปรากรเรื่อง Solome เป็นอุปรากรต้องห้าม เนื่องจากมีฉากการตัดหัวและฉากการเปลื้องผ้าคลุมหน้าออกทีละชั้นถึงเจ็ดชั้น โดยถูกวิจารณ์จากผู้ที่ได้ชมอย่างรุนแรง  แต่สุดท้ายอุปรากรเรื่องนี้ก็สามารถทำเงินให้กับสเตราส์อย่างมากมายจนสามารถนำไปปลูกคฤหาสน์หลังใหญ่ได้

       ในปี ค.ศ. 1909  สเตราส์ได้เขียนอุปรากรเรื่อง Elektra โดยได้นำวิธีการประสานเสียงแบบใหม่มาใช้ เพื่อต้องการให้ผู้ที่ได้ฟังเกิดความตกใจ  อุปรากรทั้ง 2 เรื่อง คือ Solome และ Elektra ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากในยุคนั้น ในปี ค.ศ.1911 เขาได้เขียนอุปรากรชวนหัว 1 เรื่อง คือ Der Rosenkavalier ซึ่งก็เป็นอุปรากรเรื่องหนึ่งที่ได้รับความนิยมมากเหมือนกับเรื่อง Salome  

  • Stell auf den Tisch die duftenden Reseden,   Die letzten roten Astern trag herbei,

      Und laß uns wieder von der Liebe reden,

      Wie einst im Mai.

      Gib mir die Hand, daß ich sie heimlich                  drücke,

      Und wenn man’s sieht, mir ist es einerlei,

     Gib mir nur einen deiner süßen Blicke,

     Wie einst im Mai.

   

      Es blüht und duftet heut auf jedem

      Grabe, Ein Tag im Jahr ist ja den Toten frei,          Komm am mein Herz, daß ich dich wieder           habe, Wie einst im Mai.

  • Set on the table the fragrant mignonettes, Bring in the last red asters, And let us talk of love again As once in May.

 

      Give me your hand to press in secret,

      And if people see, I do not care,

      Give me but one of your sweet glances

      As once in May.

 

 

      Each grave today has flowers and is                      fragrant,     

      One day each year is devoted to the dead;          Come to my heart and so be mine again,

      As once in May.

  • ดอกไม้สีเเดง ตั้งวางอยู่บนโต๊ะ นำดอกไม้สีแดงมามอบให้คนที่จากไป และให้เราพูดถึงความรักอีกครั้ง เช่นเดียวกับในเดือนพฤษภาคม

 

      ให้ได้สัมผัสกับมือของคุณ และฉันไม่สนใจสิ่งใด            ฉัน มองเเต่สายตาอันหวานชื่นของคุณ                          เช่นเดียวกับในเดือนพฤษภาคม

     

      หลุมศพทุกวันนี้มีดอกไม้และมีกลิ่นหอม หนึ่งวันใน        แต่ละปีอุทิศให้กับคนตาย หัวใจของฉันก็จะรู้สึกถึง        คุณอีกครั้ง เช่นเดียวกับในเดือนพฤษภาคม

  • จุดเด่นของเพลง  : การสร้างอารมณ์ความรู้สึกของความเศร้าด้วยการใช้เทคนิคการประพันธ์เสียงประสานแบบ   Arpeggio ให้บรรเลงทีละตัวโน้ตอย่างช้า ๆ  เพื่อการรำลึกถึงคนที่รักที่จากไป เเละช่วยส่งอารมณ์เข้าหาทำนองหลักในห้องที

(1) R. Strauss:Allerseelen ห้องที่ 1-2


 

  • ในห้องที่ 7 เป็นท่อนที่สร้างอารมณ์ความรู้สึกได้ยากสำหรับผู้ร้อง เนื่องจากว่าต้องควบคุมระดับเสียงให้เบามาก (p) เพื่อสร้างบรรยากาศของเพลงให้ตรงกับความหมายของคำร้องที่เกี่ยวกับการระลึกถึงผู้ที่จากไป ช่วงนี้ตัวของผู้เเต่งพยายามสื่อ ความรู้สึกของการที่เราต้องมอบดอกไม้เพื่อรำลึกถึงคนรักที่จากไป












 


 

 

  (2)   Richard Strauss .  Allerseelen, ห้องที่ 7-11






 

  • ในห้องที่ 22-25 นั้นอยู่ในท่อนกลางของบทเพลง เป็นท่อนที่จะช่วยส่งอารมณ์ของเพลงไปสู่ท่อนหลังของเพลงเเละเป็นประโยคที่สำคัญมาก โดยตัวของผู้เเต่งใช้เครื่องหมายบอกระดับเสียง PP เเบบการร้องที่เบามากเพื่อ เข้ามาช่วยสื่ออารมณ์ของความเจ็บปวดที่บาดลึก โดยการใช้โน้ต F# ซึ่งเป็นเสียงสูงเเละต้องร้องในระดับเสียงที่เบามาก เพื่อสื่อถึงความเจ็บปวดอย่างลึกซึ้ง 













 

 

(3) R. Strauss : Allerseelen, ห้องที่ 22-25


 

  • ในห้องที่ 32-35 นั้น เป็นท่อนที่สำคัญที่สุดของเพลง เพราะว่าในแนวของทำนองหลักต้องไล่เสียงขึ้นไปเรื่อย ๆ  จากโน้ตตัว Eb ถึง Ab พร้อมกับมีการใช้สัญลักษณ์ Molto espr ซึ่งมีความหมายว่า ให้ถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกอย่างมาก ทำให้ผู้ร้องต้องเน้นคำร้องออกไปอย่างชัดเจนเเละดัง 


 

  
















 

(4)  R. Strauss :  Allerseelen, ห้องที่ 32-35

 

 

  • จากนั้นจึงค่อย ๆ เบาลงให้ในห้องที่ 36 เพื่อสื่อถึงอารมณ์ที่คิดถึงคนที่จากเเละเจ็บปวดกับการสูญเสีย 












(5) R. Strauss :   Allerseelen, ห้องที่ 36


 

  • ในห้องที่ 37-38  เป็นช่วงสุดท้ายของบทเพลง ตัวของผู้เเต่งต้องการที่ทำให้บทเพลงนี้จบลงด้วยอารมณ์ที่สื่อถึงการปล่อยวาง เปรียบเสมือนมีการพบ ก็มีการจาก จึงใช้ สัญลักษณ์ dim ในห้องที่ 37 ของแนวเปียโนให้เบาลงทีละน้อย เเล้วตามด้วยระดับเสียง  P เข้ามาช่วยบอกระดับความดังเบาของแนวร้อง เพื่อช่วยสื่ออารมณ์ของเพลงออกมา 












 

(6)  R. Strauss :   Allerseelen, ห้องที่ 37-38

 

 

 

REFERENCE


 

unnamed.png
tempsnip (1).png
tempsnip (2).png
tempsnip (3).png
tempsnip (4).png
tempsnip (5).png
bottom of page